วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

น่ารักมั๊ย

ประวัติ


สุนัขมีต้นกำเนิดมาจากสุนัขป่า มนุษย์แถบขั้วโลกเหนือนำมันมาเลี้ยงเมื่อประมาณ 12,000 ปีที่แล้ว เชื่อกันว่า สุนัขป่าตัวแรกนั้น เกิดขึ้นเมื่อ 100 ล้านปีก่อน การอพยพข้ามถิ่นและทวีปต่าง ๆ ทำให้สุนัขมีหลายสายพันธุ์ ชาวจีนมีความเชื่อว่าสุนัขที่ชื่อ Fu มีความซื่อสัตย์ และนำความเจริญมาให้ เป็นสุนัขคล้ายพันธุ์ปักกิ่ง "อนูบิส" ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าอียิปต์ที่ตัวเป็นคน หัวเป็นสุนัข และเชื่อว่าสามารถส่งวิญญาณมนุษย์ได้[2][3]
สุนัขพันธุ์ที่เรียกได้ว่าเป็นสุนัขพันธุ์ต้นตระกูลคือพันธุ์สุนัขทองที่มีอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ต่อมามีสุนัขป่าอีกพันธุ์หนึ่งที่มนุษย์นำมาเลี้ยงมีชื่อภาษาละตินว่า Conis Lupees ซึ่งแปลว่าสุนัขป่า สุนัขป่าชนิดนี้จะเชื่องกว่าสุนัขธรรมดา มีขนยาว หางเป็นแผง หูตั้ง กระดูกแก้มโหนก และหางของมันจะเอนขึ้นข้างบน มีนิสัยรักอิสระกว่าสุนัขทอง สุนัขป่านี้เมื่อมาอยู่กับมนุษย์ก็ผสมพันธุ์กับสุนัขทอง ออกลูกหลานสืบมาเป็นสุนัขพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย พันธุ์สุนัขที่เห็นทุกวันนี้ได้รับเชื้อสายมาจากสุนัขพันธุ์ทองเกือบทั้งหมด
การค้นคว้าวิจัยและศึกษาเรื่องราวของสุนัข ได้มีขึ้นในประเทศอังกฤษ ในแถบยุโรปและอเมริกา แล้วจึงแพร่หลายไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก ในสหรัฐอเมริกาได้มีการจัดตั้งเป็นสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขขึ้นในปี ค.ศ. 1878 (พ.ศ. 2421) สุนัขพันธุ์แท้ชนิดแรกที่ได้จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาคือ สุนัขพันธุ์อิงลิชเซทเตอร์ ในประเทศอังกฤษได้มีการรวบรวมกันตั้งสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขขึ้นเช่นกันในปี ค.ศ. 1859 (พ.ศ. 2402) ในครั้งแรกสมาคมนี้ได้รับรองให้จดทะเบียนสุนัขพันธุ์แท้ได้ 40 สายพันธุ์ และได้จัดวิธีการรับรองสุนัขพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อความเหมาะสมถึง 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1881 (พ.ศ. 2424) สมาคมนี้ได้ให้การรับรองพันธุ์แท้ต่าง ๆ รวมเป็นจำนวน 46 พันธุ์ การแก้ไขเพิ่มเติมการรับรองเป็นสุนัขพันธุ์แท้เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2417) ได้มีสุนัขที่ให้การรับรองทั้งหมด 100 สายพันธุ์
สำหรับในประเทศไทยนั้น ก็มีผู้สนใจการเลี้ยงสุนัขรวบรวมกันจัดตั้งสมาคมขึ้นเช่นกัน โดยปรารถนาจะส่งเสริมบำรุงและอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้เลี้ยงสุนัขเหมือนกับต่างประเทศ โดยใช้ชื่อว่า สมาคมผู้นิยมสุนัขแห่งประเทศไทย ได้ทำการจดทะเบียนตั้งสมาคมเมื่อปี ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) ถือเป็นการวางรากฐานในการเลี้ยงสุนัขขึ้นในประเทศไทยเป็นแห่งแรก และตั้งใจที่จะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้เลี้ยงสุนัขในประเทศไทยได้เช่นเดียวกับต่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น