วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กฎหมายคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law) เป็นกฎหมายตัว
หนึ่งที่มีความล่าช้ามากในบรรดากฎหมายสารสนเทศทั้ง 6 ฉบับ ความล่าช้านั้นก็มาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่จะต้องดูตัวอย่างกฎหมายจากหลายๆประเทศที่บังคับใช้ไปก่อนแล้ว เพื่อจะมาปรับเข้ากับบริบทของประเทศไทย แน่นอนครับว่าการคัดลอกมาทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่าง สภาพวัฒนธรรม ความเจริญก้าวหน้าที่ไม่เท่ากันแล้ว ย่อมจะเกิดปัญหาเมื่อนำมาใช้อย่างแน่นอน
อีกทั้งเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย และในกระบวนการยุติธรรมของบ้านเราด้วย กฎหมายบางเรื่องต้องใช้เวลานานถึง 5 ปีกว่าจะออกมาใช้บังคับได้ บางเรื่องใช้เวลาถึง 10 ปีเลยทีเดียวครับ
ปัญหาความล่าช้าเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาประเทศของเรา ทั้งนี้ เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นระบบงานราชการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ต้องผ่านหลายหน่วยงาน หลายขั้นตอน หรือแม้แต่ระบบการพิจารณาในสภา ที่มีการเปลี่ยนรัฐบาลกันบ่อยๆจึงทำให้ขาดความต่อเนื่อง และยังมีสาเหตุอื่นอีกมากที่ทำให้กฎหมายแต่ละฉบับนั้นออกมาใช้บังคับช้า

ที่มาของกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคอมพิวเตอร์เข้าไปมีบทบาทในชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารอย่างในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่ามีพัฒนาการเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งพัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย แต่ถึงแม้ว่าพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะถูกนำมาประยุกต์ใช้และก่อให้เกิดประโยชน์มากมายก็ตาม หากนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีไม่ชอบแล้วก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมได้
ดังนั้นจึงเกิดรูปแบบใหม่ของอาชญากรรมที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิดขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law) ขึ้น
ในบางประเทศอาจเรียกว่า กฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบ (Computer Misuse Law) หรือในบางประเทศอาจต้องมีการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเพื่อให้รองรับกับความผิดในรูปแบบใหม่ๆได้ ด้วยการกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สามารถเอาผิดกับผู้กระทำความผิดได
้ในต่างประเทศนั้น มีลักษณะการบัญญัติกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 2 รูปแบบ คือ การบัญญัติในลักษณะแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เช่น ประเทศเยอรมนี แคนาดา อิตาลี และสวิสเซอร์แลนด์ ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งคือ การบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะ เช่น ประเทศอังกฤษ สิงคโปร์ มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
สำหรับประเทศไทยนั้น เลือกใช้ในแบบที่สองคือบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะ โดยมีชื่อว่า พระราชบัญญัติอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ….(ประกาศใช้ปีไหน ก็ใส่ พ.ศ. เข้าไปแทนจุดครับ-ผู้เขียน)
จะเห็นได้ว่าแม้รูปแบบกฎหมายของแต่ละประเทศอาจจะแตกต่างกัน แต่การกำหนดฐานความผิดที่เป็นหลักใหญ่นั้นมักจะคล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ โดยมากแล้วต่างก็คำนึงถึงลักษณะของการใช้คอมพิวเตอร์ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญ กฎหมายที่ออกมาจึงมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น